เหรียญเจริญพรหลังเรียบ และปั๊มซ้ำจากปรกไตรมาส หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่

เหรียญเจริญพรหลังเรียบ และปั๊มซ้ำจากปรกไตรมาส

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณกิตติ ดีแสน และEase Wutti 

Page : หลวงปู่ทิม พระเครื่อง ( Lp Tim Amulet Center )

 

ข้อมูลประวัติการสร้าง

 

อาจารย์ชินพร ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของเหรียญเจริญพรหลังเรียบหรือด้านหลังไม่มีอักขระเลขยันต์เหมือนเหรียญอื่น ๆ ว่าท่านสร้างไว้เป็นของส่วนตัว สาเหตุการสร้างเหรียญเจริญพรหลังเรียบเพราะก่อนที่หลวงปู่ทิมจะมรณภาพพระเครื่องต่าง ๆ และเหรียญเจริญพรทั้งล่างและบนของหลวงปู่ทิมก็มีราคาแพงขึ้นแล้ว และเมื่อท่านมีโอกาสแปลก ๆ เป็นสาเหตุให้ต้องทำเหรียญเจริญพรหลังเรียบขึ้นก็มาจากการสร้างปรกใบมะขามให้หลวงพ่อสุก วัดบันไททองเรื่องมีว่า พี่ชุ้น กรมชลฯ หรือคุณรังสรร ธัญญาหาร นักเลงพระรุ่นพี่ ซึ่งเราทำงานที่กรมชลประทานด้วยกัน พี่ชุ้นเป็นคนเพชรบุรี ที่มีฐานะดีคนหนึ่ง และเป็นศิษย์หลวงพ่อ สุก วัดบันไดทอง แกต้องการสร้างพระปรกใบมะขามถวายหลวงพ่อสุก ผู้เป็นอาจารย์ เพื่อหาเงินไปช่วยท่านสร้างเขื่อนหน้าวัด พี่ชุนมาหาผม ให้ช่วยทำปรกใบมะขามให้ ๒,๐๐๐ องค์ บอกว่ามีงบอยู่เพียง ๒,๐๐๐ บาท ซึ่งไปทำที่ไหนไม่ได้ เพราะต้องมีค่าแม่พิมพ์ด้วย ผมจึงรับไปทำให้ 

 

อจ.ชินพรไปทำที่ร้านช่างยิ้ม ยอดเมือง เพื่อประหยัดและรวดเร็ว ไม่ต้องแกะพิมพ์ใหม่ จึงไปค้นแม่พิมพ์ที่มีแกะไว้แล้วและยังไม่ได้ปั๊มเป็นเพราะไม่ถูกใจผู้จ้างก็มีในครั้งนั้นผมได้พบแม่พิมพ์พระปรกใบมะขามที่เป็นตัวต้นแบบปรกมะขามหลวงปู่ทิมพร้อมกับตัวถอดสำรองเหรียญเจริญพร (บน) อยู่รวมกัน ๒ ชิ้น ช่างยิ้ม ยอดเมืองก็รีบทำให้ในราคาองค์ละ ๑ บาท นอกจากปั๊มพระปรกใบมะขามหลังเรียบให้พี่ชุน ๒,๐๐๐ องค์ ในราคา ๒,๐๐๐ บาทถ้วนแล้ว ผมยังปั๊มปรกมะขามหลับเรียบไว้เป็นส่วนตัวอีก ๑,๐๐๐ องค์ พอดีแผ่นโลหะชนิดบางที่ใช้ปั๊มปรกมะขามหมดผมจึงเอาเหรียญนาคปรกไตรมาส ๑๐๐ เหรียญ มาตัดแล้วปั๊มทับไปด้วยได้ประมาณ ๕๐๐ กว่าองค์ แล้วนำไปขอให้หลวงปู่ทิมปลุกเสก (รวมปรกหลังเรียบที่ปั๊มทั้งหมด ๓,๐๐๐ องค์) แบ่งให้พี่ชุ้นไป ๒,๐๐๐ องค์ ถวายหลวงปู่ทิมไว้ ๕๐๐ องค์ ผมเก็บเฉพาะส่วนที่ปั๊มจากเหรียญนาคปรกไตรมาส พระปรกใบมะขาม ๒,๐๐๐ องค์พี่ชุ้นนำไปให้หลวงพ่อสุกปลุกเสกอีกครั้งแล้วตอกโค๊ตด้านหลังเป็นตัว “อะ” (ร-ร) ในวงกลม ออกให้บูชาที่วัดบันไดทององค์ละ ๒๐ บาท ปรกใบมะขามหลังเรียบ ๕๐๐ องค์ที่ถวายหลวงปู่ทิมท่านก็แจกไปบ้างเพราะหลายคนได้รับมาจากมือท่านก็มี เมื่อหลวงปู่ทิมมรณภาพแล้วพระปรกมะขามชุดนี้ก็ตกอยู่ที่ คุณเพียรวิทย์ จารุสถิติ และได้เอาโค๊ตตัว “ท” ตอกไว้ ส่วนอีก ๕๐๐ องค์ซึ่งผมเก็บไว้นั้นทำจากเหรียญปรกไตรมาส ๑๐๐ เหรียญเหตุที่ใช้เหรียญนาคปรกไตรมาสมาปั๊มก็เพราะโลหะที่จะปั๊มพระเล็ก ๆ อย่างปรกใบมะขามหมด ผมจึงเอาเหรียญนาคปรกไตรมาส ๑๐๐ เหรียญที่กำลังออกใหม่และอยู่ในรถมาตัดแล้วมาปั๊มเป็นพระปรกใบมะขามหลังเรียบไว้ ในโอกาสนี้ผมก็ให้ช่างยิ้ม ปั๊มเหรียญเจริญพรหลังเรียบขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่งประมาณพันกว่าองค์แผ่นทองแดงก็หมดถ้าจะทำต่อก็ต้องรอทองแดงอีกหลายวัน ผมเลยเอาเหรียญนาคปรกไตรมาสจำนวนหนึ่งปั๊มไว้ประมาณ ๔-๕๐๐ เหรียญ เพื่อเก็บไว้เป็นของส่วนตัวเพราะเวลานั้นเหรียญเจริญพรล่างและบนเริ่มหายากและแพงแล้ว เสร็จแล้วจึงเอาแม่พิมพ์ทั้ง ๒ ตัวกลับ แล้วจึงเอาแม่พิมพ์ทั้ง ๒ ตัวไปทิ้งแม่น้ำหน้าสโมสรกรมชลประทาน โดยมีพี่ชุ้น (ยังมีชีวิตอยู่) และคุณวิรัช ชำนาญณรงค์ เป็นพยานรู้เห็นด้วย

 

พระชุดหลังเรียบจึงมี พระปรกใบมะขามของวัดเขาบันไดทอง ๒,๐๐๐ องค์ตอกโค๊ตตัว “อะ” (ร-ร) ไว้ด้านหลัง และพระปรกใบมะขามหลังเรียบที่อยู่กับหลวงปู่ทิม ๕๐๐ องค์ซึ่งเนื้อและขนาดเหมือนของวัดบันไดทองแต่ตอกโค๊ตตัว “ท” ตัวเดียวกับเหรียญเจริญพรกรรมการไว้ด้านซ้ายองค์หลวงปู่ ส่วนอีก ๕๐๐ องค์ที่อยู่กับผมซึ่งเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ค่อนข้างหนาเพราะเอาเหรียญนาคปรไตรมาสมาปั๊มซ้ำ

สำหรับเหรียญเจริญพรหลังเรียบ ทำทั้งหมดประมาณพันกว่าเหรียญนำไปติดรูปหล่อฐานปูปลาออกให้บูชาเพื่อนำเงินเข้ากองกฐินองค์ละ ๗๐๐บาท องค์ที่ไม่ติดเหรียญเจริญพรหลังเรียบองค์ละ ๕๐๐ บาท ผมแจกฟรี ๆ ไปจนหมดทดแทนผู้ที่ต้องการปรกใบมะขามองค์เพื่อแจกในงานทอดกฐินที่ผมเป็นเจ้าภาพไปทอดที่วัดหนองกรับเมื่อปี ๒๕๒๙ จำนวนประมาณ ๔๑๐ องค์

 

เหรียญเจริญพรหลังเรียบได้นำออกแจกในวาระทำบุญกฐิน, ผ้าป่า ไปหลายครั้งจนหมด จากคำบอกเล่าของ อจ.ชินพร ผู้สร้าง องค์ที่ปั๊มซ้ำจากปรกไตรมาส ด้านหลังจะเห็นลายยันต์เดิมของเหรียญทุกองค์ครับ พระชุดนี้ โค๊ต นะ ที่ตอกเอาไว้จะตอกแยกระหว่างหลังเรียบธรรมดาจะตอกไว้ใต้ฐาน ส่วนที่เป็นปั๊มซ้ำจะตอกโค๊ตไว้ที่สังฆาฏิ 

 

โค้ด นะ หางไม่ขาด ออกวันหนองกรับ นะหางขาด ออกที่มูลนิธิ

โค้ดนะหางยาว ตอกในเหรียญที่ถวายหลวงพ่อสาคร

 

นะหางสั้น ตอกในเหรียญที่ออกที่มูลนิธิ

เป็นเหรียญชุดเดียวกันแต่ตอกต่างกัน เพื่อแยกที่มา

 

เป็นการแยกให้รู้ตามนิสัยของอาจารย์ชินพร เหมือนวัดยายร้า ไม่ตอกโค้ดออกวัด ตอกโค้ดนะแจกผ้าป่าปีแรก ตอกโค้ดอิออกปีที่2 ตอกโค้ดศาลาออกปีที่3 

หรือกริ่งชินบัญชร ก้นเงิน ไม่มีเลขออกวัดละหาร มีเลขออกวัดเจ้าเจ็ด เป็นต้น

รุ่นนี้ไปให้หลวงปู่ทิมเสกวันที่7สิงหาคม 2518 แล้วไปรับกลับวันที่14สิงหา

รวมหลวงปู่เสก7วัน แต่เดิมไม่ตอกโค๊ต ไม่มีจาร มาตอกโค๊ตปี29 ตอนถวายหลวงพ่อสาคร รอยจารด้านหลังสำหรับหลังเรียบเพิ่งมาจารตอนทำชุดแต้เม้ง 

อยากรู้ใครจารไปถาม อุ้ยไอเดีย ที่จารเพราะมีคนเห็นว่าจารสวย เลยยุอาจารย์ชินพร

ถ้าปั้มซ้ำสังเกตุหูเหรียญจะเกือบขาดทุกเหรียญ เพราะเป็นเหรียญมีตำหนิ สมัยนั้นขายไม่ออก อาจารชินพรเลยเอาไปปั้มซ้ำกะว่าจะมาขาย แต่ด้วยความเสียดายเลยเก็บเงียบ เงียบเกินไปเลยเจอตีเก๊เลย

 

ประสบการณ์

 

อาจารย์ชินพรเล่าว่า เมื่อปี ๒๕๓๓ เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพ รถบรรจุถังแก๊สมาเต็มคันรถปริมาณหมื่นลิตรระเบิดขณะเลี้ยวลงทางด่วนเพื่อเข้าถนนเพชรบุรี แรงระเบิดทำให้ผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมากข่าวดังไปทั่วโลก ลูกชายคนเล็กของผมที่มีภาพนั่งอยู่หน้าปู่ฤาษี อิสริโก ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ทิม อิสริโก เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๒๖ รอดจากความตายในครั้งนั้นอย่างเหลือเชื่อ ถ้าไม่เรียกอภินิหารของหลวงปู่ทิมก็ไม่ทราบว่าจะเรียกอะไร เพราะมีเหรียญเจริญพรห้อยคอเปลือยโดยไม่ได้เลี่ยมพลาสติกกันพระชำรุดอยู่เพียงเหรียญเดียว สาเหตุตั้งใจจะลงไปตัดผมร้านเดียวกับที่รถแก๊สลงทางด่วนแล้วพุ่งเข้าชนเป็นจุดแรกลูกค้าที่กำลังตัดผมทั้งผู้ที่นั่งคอยตลอดจนช่างตัดผม ๒๒ คนตายไม่เหลือเลย มีเพียงกระดูกเท่านั้นที่เหลืออยู่ ลูกชายผมไม่ลงไปตัดผมทั้ง ๆ ที่ตั้งใจไว้แล้วว่าจะต้องลงไปในเย็นวันนั้น เหตุเพราะรถสาย ๓๘ เที่ยวนั้นมีที่ว่างพอดี แกไม่ต้องโยนโหนรถอีกกว่าชั่วโมงก่อนถึงบ้าน เพราะรถติดมากทุกวัน เหรียญเจริญพรที่ลูกชายผมห้อยคออยู่วันนั้นคือ เหรียญเจริญพรหลังเรียบ